วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพุธที่ 25 มกราคม 2560

ก่อนเริ่มการเรียนก็เหมือนทุกครั้งอาจารย์จะให้ปั้มการเข้าเรียน



เนื้อหาที่เรียน   เนื้อหาของสัปดาห์นี้จะต่อเนื่องกับสัปดาห์ที่แล้ว
ประเภทของเด็กประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดหมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติในความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียงจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

  1.ความบกพร่องในการปรุงเสียง
-เสียงบางส่วนของคำขาดหาย
-ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง
-เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย

  2.ความบกพร่องของจังหวัดและขั้นตอนของเสียงพูด
-พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอนไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
-การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
-จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
-เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง

3.ความบกพร่องของเสียงพูด
-ความบกพร่องของระดับเสียง
-เสียงดังหรือค่อยเกินไป
-คุณภาพเสียงไม่ดี

ความบกพร่องทางภาษาหมายถึงการขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูดและ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
1.การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า Dusphasia หรือ aphasia

5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-เด็กมีอวัยวะไม่สมส่วน
-อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
-เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
-มีปัญหาทางระบบประสาท
-มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

โรคลมชัก เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองมีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
-การชักในช่วงเวลาสั้นๆ
-การชักแบบรุนแรง
-อาการชักแบบ Partial Complex
-อาการไม่รู้สึกตัว
-ลมบ้าหมู

สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้จักความบกพร่องทางร่างกายในรูปแบบต่างๆ
ได้รู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื่องต้นของอาการลมชัก
ได้รู้ระดับอาการเป็นลมชักในแบบต่างๆ

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันพุธที่ 18 มกราคม 2560

ให้ออกไปปั้มการมาเรียนเหมือนทุกครั้ง แต่ครั้งนี้ฉันได้ดาวเด็กดีมา 1 ดวง เพราะอาจารย์ได้ให้นักศึกษาคนที่มาถึงห้องเรียนก่อนอาจารย์



เนื้อหาที่เรียน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ    แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ


1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง 
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา  เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”

ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
1.พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
2.เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 
3.อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม 
4.มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
5.จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
6.มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
7.มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
8.เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต 
9.มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน 
10.ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน

2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง  

1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น 
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา 
6.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
7.เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 
8. เด็กออทิสติก 
9. เด็กพิการซ้อน 

 เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน 

มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน

เด็กเรียนช้า 
- สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้ 
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
- ขาดทักษะในการเรียนรู้ 
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย 
- มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 
สาเหตุของการเรียนช้า
1. ภายนอก
-เศรษฐกิจของครอบครัว
-การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
-สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
-การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
-วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
2. ภายใน
-พัฒนาการช้า
-การเจ็บป่วย

เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
- ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย 
- ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 
-ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
-กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
- พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ 
- สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ 
- เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded) 
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 
-เรียนในระดับประถมศึกษาได้ 
-สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ 
-เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded) 

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
-ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
-ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
-ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
-ทำงานช้า
-รุนแรง ไม่มีเหตุผล
-อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
-ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน


สิ่่งที่ได้รับ
        สาเหตุที่ทำให้เด็กบางคนมีความบกพร่องในด้านต่าง และลักษณะของอาการของคนที่มีความต้องการพิเศษในแบบต่างๆ 







วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
วันพุธที่ 11 มกราคม 2560

อาจารย์ได้เเจกตัวปั้มการเชคชื่่อมาเรียน จากนั้นอาจารย์ก็เริ่มเข้าเนื้อหาด้วยการถามเพื่อทบทวนความรู้เดิมของนักศึกษา


เนื้อหาที่เรียน
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ( Early Childhood with special needs )
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. ทางการแพทย์ เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล 
สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง
-เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
-มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
-จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
-จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็กแต่ละบุคล
พฤติกรรมและพัฒนาการ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 พัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล 
ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

-เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
-พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน 
-พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด 
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ 
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร

      หลังจากเรียนเนื้อหาไปได้ซักพักอาจารย์ก็มีกิจกรรมใหเทำคือ อาจารย์ให้วาดภาพตามแบบที่อาจารย์เอามาให้ดู


      หลังจากที่วาดเสร็จทุกภาพอาจารย์ก็ได้บอกถึงที่มาหรือความหมาของภาพคือแต่ละภาพนั้นบ่งบอกถึงพัฒนาการทางสมองของเด็ก


 
สิ่งที่ได้รับ
ได้ทบทวนเนื้อหาความรู้เดิมและได้รับความรู้ใหม่เข้ามาเพิ่ม