วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหามี่เรียน
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
-เกิดผลดีในระยะยาว 
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program; IEP)
-โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
-การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
-การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

-Picture Exchange Communication System (PECS)


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
2. ทักษะภาษา
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

ขณะสอนอาจารย์ให้เพื่อนๆออกไปมีส่วนร่วมด้วยการให้เหตุการณ์จำลองมาแล้วให้นักศึกษาช่วยกันคิดว่าจะมีหลักการอย่างไรในการแก้ไข

สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้วิธีการที่จะทำให้เด็กพิเศษเข้าไปเล่นกับเพื่อนๆได้และการที่จะให้เพื่อนๆนั้นยอมเล่นด้วย
การใช้สื่อต่างๆกับเด็ก
หลักการฟื้นฟูต่างๆ








บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน
การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
-เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง -ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่ม--เข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
-เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน
(Education for All)
-การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
-ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้”
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

หลังจากที่สอนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาวาดภาพรูปดอกบัว






สิ่งที่ได้รับ
ความหมายและความสำคัญของการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
บทบาทของครูที่มีต่อเด็กในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม






บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560

..........อาจารย์สอบเก็บคะเเนน..........


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน
8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)

-มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
-แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
-มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
-ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
-ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
-ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
-ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
-กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
-เอะอะและหยาบคาย
-หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
-ใช้สารเสพติด
-หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ







ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
-จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
-ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
-งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

สมาธิสั้น (Attention Deficit)
-มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
-พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
-มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
-หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
-เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
-ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

-ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
-ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
-การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
-การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
-รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
-โรคอ้วน (Obesity) 
-ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

สาเหตุ
-ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
-ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
-รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน 
-มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์ 
-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
-มีความหวาดกลัว

เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 

Inattentiveness(สมาธิสั้น) 
-ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ 
-ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ 
-มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
-เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ 
-เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

Hyperactivity(ซนอยู่ไม่นิ่ง)
-ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
-เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
-เหลียวซ้ายแลขวา 
-ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ 
-อยู่ไม่สุข ปีนป่าย 
-นั่งไม่ติดที่ 
-ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

Impulsiveness(หุนหันพลันแล่น)
-ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
-ขาดความยับยั้งชั่งใจ 
-ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 
-ไม่อยู่ในกติกา 
-ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง 
-พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง 
-ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน

สาเหตุ

-ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง
-เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
-ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
-พันธุกรรม
-สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) 
-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด



สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้ลักษณะและอาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ได้รู้วิธีและยาที่ใช้ในการรักษาสมาธิสั้น
ได้รู้ลักษณะอาการของเด็กพิการซ้อน















วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

เนื้อหาการเรียนการสอน

อาจารย์พาไปดูการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวมที่โรงเรียนเกษมพิทยา












สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้วิธีการเก็บเด็กหรือการหยุดเด็กพิเศษ
ได้เห็นหลักการจักการเรียนการสอนที่มีเด็กพิเศษเรียนอยู่ด้วย
ได้รู้การจัดโปรเจคแอคโพส



บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
เนื้อหาการเรียนการสอน
อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรู้ตามอัธยาศัย

....................................................................................
บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) 

-เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) 
-เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง 
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย 

สาเหตุของ LD
-ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
-กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder
-หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
-อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
-ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
-อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
-อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
-เดาคำเวลาอ่าน
-อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
-อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
-ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
-ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
-เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน Writing Disorder
-เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
-เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
-เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
-ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
-เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
-เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน 
     เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
-เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
-เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
-เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
-จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
-สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
-เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
-เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
-ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder
-ตัวเลขผิดลำดับ
-ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
-ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
-แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
-ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
-นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
-คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
-จำสูตรคูณไม่ได้
-เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
-ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
-ตีโจทย์เลขไม่ออก
-คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
-ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
-แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
-มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
-เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
-งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
-การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
-สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
-เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
-ทำงานช้า
-การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
-ฟังคำสั่งสับสน
-คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
-ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
-ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
-ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
-ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

7. ออทิสติก (Autistic)  หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 
-เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
-ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น 
-ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม 
-เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 
-ทักษะภาษา
-ทักษะทางสังคม
-ทักษะการเคลื่อนไหว 
-ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ 

ลักษณะของเด็กออทิสติก 
-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
-ไม่ยอมพูด
-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
-ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
-ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
-ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
-ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
-มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
-ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
-พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
-ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
-มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
-มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
-มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
-สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พฤติกรมการทำซ้ำ
-นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
-นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
-วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
-ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

ออทิสติกเทียม
-ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
-ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
-ดูการ์ตูนในทีวี

Autistic Savant
-กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) 
     จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
-กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) 
    จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking


สิ่่งที่ได้รับ
ได้รู้ความบกพร่องของเด็กในด้านต่างๆ
ได้รู้ลักษณะของเด็กออทิสติก
ได้รู้ว่าเด็กออทิสติกมีลักษณะอาการอย่างไร











บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

อาจารย์ไปอบรมจึงให้นักศึกษามาจัดทำบล็อก

.....................................................................................................................