วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันพุธ ที่ 26 เมษายน 2560
***ปิดคลอสการเรียนการสอน***

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันพุธที่ 19 เมษายน 2560

-เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ให้นักศึกษาได้เขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลโดยที่มีอาจารย์คอยให้คำแนะนำในการเขียนแผนเพื่อที่จะให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้นและสามารถเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลได้อย่างถูกต้อง



-สิ่งที่ได้รับ
การเขียนแผนIEPที่ถูกต้อง
การปรับปรุงแผนให้เหมาะกับเด็ก
รายละเอียดของแผน

วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560





บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันพุธที่ 12 เมษายน 2560

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดวันสงกรานต์

วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560



บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพุธที่ 5 เมษายน 2560
......วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปราชการ......
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program

แผน IEP

-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล 

หลังจากอาจารย์สอนเนื้อหาจบ อาจารย์ก็ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาทำกิจกรรม คือ
กิจกรรมแรกคือ ให้นักศึกษาวาดรูปมือของตนเองลงในกระดาษโดยเอาข้างที่ไม่ถนัดทาบลงกระดาษแล้ววาดตาม จากนั้นก็ให้เขียนเส้นลายมือข้างนั้นลงไปในรูปที่วาดโดยห้ามดูลายเส้นที่มือ หลังจากเสร็จแล้วให้ส่งคืออาจารย์และอาจารย์ได้แจกให้เพื่อนๆทุกคนจะไม่ได้รูปที่ตัวเองวาด แต่จะได้รูปของเพื่อนจากนั้นก็ให้ตามหาเจ้าของมมือที่ตนเองได้

กิจกรรมที่สอง อาจารย์ให้ใช้สีวาดรูปวงกลมโดยจะใช้สีอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ จากนั้นก็ตัดตามรอยแล้วอาจารย์ก็ได้บอกความหมายของสีต่างๆและตำแหน่งที่ใช้สีวาดว่าหมายถึงหรือมีความหมายอย่างไร และจากนั้นก็ให้นักศึกษาทุกคนออกไปติดวงกลมที่ตนเองวาดที่หน้าห้องซึ่งอาจารย์มีรูปต้นไม้ที่ไม่มีใบติดไว้ที่กระดาษให้นักศึกษาช่วยกันเอาวงกลมของตนเองไปติดให้เป็นใบในตำแหน่ไหนก็ได้ตามที่ต้องการ









สิ่งที่ได้รับ
การเขียนแผน IEP
ประโยชน์ของแผน IEP
การสร้างรรค์ศิลปะง่ายๆและความหมายของสิ่งที่ทำ


วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหามี่เรียน
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
-เกิดผลดีในระยะยาว 
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program; IEP)
-โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
-การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
-การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

-Picture Exchange Communication System (PECS)


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
2. ทักษะภาษา
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

ขณะสอนอาจารย์ให้เพื่อนๆออกไปมีส่วนร่วมด้วยการให้เหตุการณ์จำลองมาแล้วให้นักศึกษาช่วยกันคิดว่าจะมีหลักการอย่างไรในการแก้ไข

สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้วิธีการที่จะทำให้เด็กพิเศษเข้าไปเล่นกับเพื่อนๆได้และการที่จะให้เพื่อนๆนั้นยอมเล่นด้วย
การใช้สื่อต่างๆกับเด็ก
หลักการฟื้นฟูต่างๆ








บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน
การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
-เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง -ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่ม--เข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
-เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน
(Education for All)
-การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
-ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้”
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

หลังจากที่สอนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาวาดภาพรูปดอกบัว






สิ่งที่ได้รับ
ความหมายและความสำคัญของการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
บทบาทของครูที่มีต่อเด็กในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม






บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560

..........อาจารย์สอบเก็บคะเเนน..........


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน
8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)

-มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
-แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
-มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
-ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
-ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
-ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
-ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
-กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
-เอะอะและหยาบคาย
-หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
-ใช้สารเสพติด
-หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ







ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
-จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
-ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
-งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

สมาธิสั้น (Attention Deficit)
-มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
-พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
-มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
-หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
-เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
-ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

-ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
-ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
-การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
-การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
-รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
-โรคอ้วน (Obesity) 
-ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

สาเหตุ
-ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
-ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
-รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน 
-มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์ 
-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
-มีความหวาดกลัว

เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 

Inattentiveness(สมาธิสั้น) 
-ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ 
-ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ 
-มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
-เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ 
-เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

Hyperactivity(ซนอยู่ไม่นิ่ง)
-ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
-เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
-เหลียวซ้ายแลขวา 
-ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ 
-อยู่ไม่สุข ปีนป่าย 
-นั่งไม่ติดที่ 
-ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

Impulsiveness(หุนหันพลันแล่น)
-ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
-ขาดความยับยั้งชั่งใจ 
-ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 
-ไม่อยู่ในกติกา 
-ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง 
-พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง 
-ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน

สาเหตุ

-ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง
-เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
-ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
-พันธุกรรม
-สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) 
-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด



สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้ลักษณะและอาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ได้รู้วิธีและยาที่ใช้ในการรักษาสมาธิสั้น
ได้รู้ลักษณะอาการของเด็กพิการซ้อน















วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

เนื้อหาการเรียนการสอน

อาจารย์พาไปดูการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวมที่โรงเรียนเกษมพิทยา












สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้วิธีการเก็บเด็กหรือการหยุดเด็กพิเศษ
ได้เห็นหลักการจักการเรียนการสอนที่มีเด็กพิเศษเรียนอยู่ด้วย
ได้รู้การจัดโปรเจคแอคโพส



บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
เนื้อหาการเรียนการสอน
อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรู้ตามอัธยาศัย

....................................................................................
บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) 

-เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) 
-เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง 
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย 

สาเหตุของ LD
-ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
-กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder
-หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
-อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
-ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
-อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
-อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
-เดาคำเวลาอ่าน
-อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
-อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
-ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
-ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
-เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน Writing Disorder
-เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
-เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
-เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
-ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
-เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
-เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน 
     เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
-เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
-เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
-เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
-จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
-สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
-เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
-เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
-ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder
-ตัวเลขผิดลำดับ
-ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
-ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
-แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
-ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
-นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
-คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
-จำสูตรคูณไม่ได้
-เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
-ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
-ตีโจทย์เลขไม่ออก
-คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
-ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
-แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
-มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
-เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
-งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
-การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
-สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
-เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
-ทำงานช้า
-การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
-ฟังคำสั่งสับสน
-คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
-ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
-ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
-ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
-ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

7. ออทิสติก (Autistic)  หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 
-เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
-ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น 
-ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม 
-เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 
-ทักษะภาษา
-ทักษะทางสังคม
-ทักษะการเคลื่อนไหว 
-ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ 

ลักษณะของเด็กออทิสติก 
-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
-ไม่ยอมพูด
-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
-ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
-ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
-ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
-ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
-มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
-ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
-พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
-ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
-มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
-มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
-มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
-สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พฤติกรมการทำซ้ำ
-นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
-นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
-วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
-ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

ออทิสติกเทียม
-ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
-ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
-ดูการ์ตูนในทีวี

Autistic Savant
-กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) 
     จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
-กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) 
    จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking


สิ่่งที่ได้รับ
ได้รู้ความบกพร่องของเด็กในด้านต่างๆ
ได้รู้ลักษณะของเด็กออทิสติก
ได้รู้ว่าเด็กออทิสติกมีลักษณะอาการอย่างไร











บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

อาจารย์ไปอบรมจึงให้นักศึกษามาจัดทำบล็อก

.....................................................................................................................

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพุธที่ 25 มกราคม 2560

ก่อนเริ่มการเรียนก็เหมือนทุกครั้งอาจารย์จะให้ปั้มการเข้าเรียน



เนื้อหาที่เรียน   เนื้อหาของสัปดาห์นี้จะต่อเนื่องกับสัปดาห์ที่แล้ว
ประเภทของเด็กประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดหมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติในความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียงจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

  1.ความบกพร่องในการปรุงเสียง
-เสียงบางส่วนของคำขาดหาย
-ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง
-เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย

  2.ความบกพร่องของจังหวัดและขั้นตอนของเสียงพูด
-พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอนไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
-การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
-จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
-เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง

3.ความบกพร่องของเสียงพูด
-ความบกพร่องของระดับเสียง
-เสียงดังหรือค่อยเกินไป
-คุณภาพเสียงไม่ดี

ความบกพร่องทางภาษาหมายถึงการขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูดและ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
1.การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า Dusphasia หรือ aphasia

5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-เด็กมีอวัยวะไม่สมส่วน
-อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
-เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
-มีปัญหาทางระบบประสาท
-มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

โรคลมชัก เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองมีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
-การชักในช่วงเวลาสั้นๆ
-การชักแบบรุนแรง
-อาการชักแบบ Partial Complex
-อาการไม่รู้สึกตัว
-ลมบ้าหมู

สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้จักความบกพร่องทางร่างกายในรูปแบบต่างๆ
ได้รู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื่องต้นของอาการลมชัก
ได้รู้ระดับอาการเป็นลมชักในแบบต่างๆ

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันพุธที่ 18 มกราคม 2560

ให้ออกไปปั้มการมาเรียนเหมือนทุกครั้ง แต่ครั้งนี้ฉันได้ดาวเด็กดีมา 1 ดวง เพราะอาจารย์ได้ให้นักศึกษาคนที่มาถึงห้องเรียนก่อนอาจารย์



เนื้อหาที่เรียน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ    แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ


1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง 
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา  เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”

ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
1.พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
2.เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 
3.อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม 
4.มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
5.จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
6.มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
7.มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
8.เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต 
9.มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน 
10.ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน

2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง  

1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น 
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา 
6.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
7.เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 
8. เด็กออทิสติก 
9. เด็กพิการซ้อน 

 เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน 

มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน

เด็กเรียนช้า 
- สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้ 
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
- ขาดทักษะในการเรียนรู้ 
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย 
- มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 
สาเหตุของการเรียนช้า
1. ภายนอก
-เศรษฐกิจของครอบครัว
-การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
-สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
-การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
-วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
2. ภายใน
-พัฒนาการช้า
-การเจ็บป่วย

เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
- ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย 
- ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 
-ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
-กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
- พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ 
- สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ 
- เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded) 
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 
-เรียนในระดับประถมศึกษาได้ 
-สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ 
-เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded) 

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
-ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
-ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
-ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
-ทำงานช้า
-รุนแรง ไม่มีเหตุผล
-อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
-ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน


สิ่่งที่ได้รับ
        สาเหตุที่ทำให้เด็กบางคนมีความบกพร่องในด้านต่าง และลักษณะของอาการของคนที่มีความต้องการพิเศษในแบบต่างๆ 







วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
วันพุธที่ 11 มกราคม 2560

อาจารย์ได้เเจกตัวปั้มการเชคชื่่อมาเรียน จากนั้นอาจารย์ก็เริ่มเข้าเนื้อหาด้วยการถามเพื่อทบทวนความรู้เดิมของนักศึกษา


เนื้อหาที่เรียน
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ( Early Childhood with special needs )
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. ทางการแพทย์ เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล 
สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง
-เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
-มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
-จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
-จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็กแต่ละบุคล
พฤติกรรมและพัฒนาการ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 พัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล 
ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

-เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
-พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน 
-พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด 
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ 
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร

      หลังจากเรียนเนื้อหาไปได้ซักพักอาจารย์ก็มีกิจกรรมใหเทำคือ อาจารย์ให้วาดภาพตามแบบที่อาจารย์เอามาให้ดู


      หลังจากที่วาดเสร็จทุกภาพอาจารย์ก็ได้บอกถึงที่มาหรือความหมาของภาพคือแต่ละภาพนั้นบ่งบอกถึงพัฒนาการทางสมองของเด็ก


 
สิ่งที่ได้รับ
ได้ทบทวนเนื้อหาความรู้เดิมและได้รับความรู้ใหม่เข้ามาเพิ่ม