วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันพุธ ที่ 26 เมษายน 2560
***ปิดคลอสการเรียนการสอน***

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันพุธที่ 19 เมษายน 2560

-เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ให้นักศึกษาได้เขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลโดยที่มีอาจารย์คอยให้คำแนะนำในการเขียนแผนเพื่อที่จะให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้นและสามารถเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลได้อย่างถูกต้อง



-สิ่งที่ได้รับ
การเขียนแผนIEPที่ถูกต้อง
การปรับปรุงแผนให้เหมาะกับเด็ก
รายละเอียดของแผน

วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560





บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันพุธที่ 12 เมษายน 2560

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดวันสงกรานต์

วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560



บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพุธที่ 5 เมษายน 2560
......วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปราชการ......
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program

แผน IEP

-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล 

หลังจากอาจารย์สอนเนื้อหาจบ อาจารย์ก็ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาทำกิจกรรม คือ
กิจกรรมแรกคือ ให้นักศึกษาวาดรูปมือของตนเองลงในกระดาษโดยเอาข้างที่ไม่ถนัดทาบลงกระดาษแล้ววาดตาม จากนั้นก็ให้เขียนเส้นลายมือข้างนั้นลงไปในรูปที่วาดโดยห้ามดูลายเส้นที่มือ หลังจากเสร็จแล้วให้ส่งคืออาจารย์และอาจารย์ได้แจกให้เพื่อนๆทุกคนจะไม่ได้รูปที่ตัวเองวาด แต่จะได้รูปของเพื่อนจากนั้นก็ให้ตามหาเจ้าของมมือที่ตนเองได้

กิจกรรมที่สอง อาจารย์ให้ใช้สีวาดรูปวงกลมโดยจะใช้สีอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ จากนั้นก็ตัดตามรอยแล้วอาจารย์ก็ได้บอกความหมายของสีต่างๆและตำแหน่งที่ใช้สีวาดว่าหมายถึงหรือมีความหมายอย่างไร และจากนั้นก็ให้นักศึกษาทุกคนออกไปติดวงกลมที่ตนเองวาดที่หน้าห้องซึ่งอาจารย์มีรูปต้นไม้ที่ไม่มีใบติดไว้ที่กระดาษให้นักศึกษาช่วยกันเอาวงกลมของตนเองไปติดให้เป็นใบในตำแหน่ไหนก็ได้ตามที่ต้องการ









สิ่งที่ได้รับ
การเขียนแผน IEP
ประโยชน์ของแผน IEP
การสร้างรรค์ศิลปะง่ายๆและความหมายของสิ่งที่ทำ


วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหามี่เรียน
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
-เกิดผลดีในระยะยาว 
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program; IEP)
-โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
-การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
-การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

-Picture Exchange Communication System (PECS)


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
2. ทักษะภาษา
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

ขณะสอนอาจารย์ให้เพื่อนๆออกไปมีส่วนร่วมด้วยการให้เหตุการณ์จำลองมาแล้วให้นักศึกษาช่วยกันคิดว่าจะมีหลักการอย่างไรในการแก้ไข

สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้วิธีการที่จะทำให้เด็กพิเศษเข้าไปเล่นกับเพื่อนๆได้และการที่จะให้เพื่อนๆนั้นยอมเล่นด้วย
การใช้สื่อต่างๆกับเด็ก
หลักการฟื้นฟูต่างๆ








บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน
การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
-เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง -ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่ม--เข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
-เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน
(Education for All)
-การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
-ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้”
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

หลังจากที่สอนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาวาดภาพรูปดอกบัว






สิ่งที่ได้รับ
ความหมายและความสำคัญของการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
บทบาทของครูที่มีต่อเด็กในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม